Search for content in this blog.

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รัฐบาล ฟังเราบ้าง...' เสียงสุดท้ายก่อน 'สึนามิน้ำจืด' กลืนกรุงเทพ!!ถัดจากคลื่นน้ำ “สึนามิใหญ่” ที่คร่าชีวิตพี่น้องภาคใต้ไปมากมายเมื่อหลายปีก่อน !! ก็ม

รัฐบาล ฟังเราบ้าง...' เสียงสุดท้ายก่อน 'สึนามิน้ำจืด' กลืนกรุงเทพ!!ถัดจากคลื่นน้ำ “สึนามิใหญ่” ที่คร่าชีวิตพี่น้องภาคใต้ไปมากมายเมื่อหลายปีก่อน !! ก็มีครั้งนี้แหละที่ “น้ำ” สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนไทยทั้งประเทศ!!! โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ!!!
ในวันที่ประเทศไทยโดนมวลน้ำสามัคคีกันกระชับพื้นที่ศูนย์ กลางประเทศ ที่ไร้ซึ่งความสามัคคีแห่งนี้ ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำนอกจากถามวิธีแก้ไขที่จะไม่ทำให้กรุงเทพฯ ปราการด่านสุดท้าย ศูนย์กลางเศรษฐกิจประเทศไทยหยุดยั้งไม่ทำให้มันจมน้ำตายแล้ว
คำถามที่น่าใคร่ครวญ ก็คือพวกเราเดินทางมาถึงวิกฤติน้ำกลืนประเทศตรงนี้ได้อย่างไร...?
“ผม อดีตอธิบดีกรมอุตุฯ กับ อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เจอกันทำงานด้วยกัน หลายอย่างที่เราแนะนำไปเขาก็ไม่เชื่อ ตอนนี้กำลังจะสาย ดังนั้นรัฐบาลต้องฟังเราบ้าง…!” ดร.สมิทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงผิดหวัง และย้ำคำถามว่าเราเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
“ข้อ ผิดพลาดทั้งหมดมันเริ่มเพราะมันเกี่ยวกับการบริหารน้ำ ซึ่งไม่ใช่กรมชลฯกรมเดียว ทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบทั้งหมด ผิดตรงที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ประมาณปริมาณน้ำฝนที่จะตก ในฤดูฝนนี้ มันจะมีพายุเข้ากี่ลูกแล้วปริมาณน้ำที่จะตกในต้นฤดูมีเท่าไหร่ กลางฤดู ปลายฤดูเท่าไหร่ แล้วการที่จะเก็บน้ำไว้ในเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดูควรจะเก็บน้ำเอาไว้กี่ เปอร์เซ็นต์ของความจุของเขื่อน ไม่ใช่เก็บทีเดียวเต็มเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดู เพราะหากกลางฤดูฝนตกมากกลางฤดูน้ำก็จะล้นเขื่อน พอล้นก็จำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำ ที่สำคัญไม่ควรจะปล่อยออกมาพร้อมๆกันหลายเขื่อน เพราะปริมาณที่ปล่อยออกมาพร้อมกัน พื้นที่ประเทศไทยไม่สามารถรับปริมาณน้ำที่ไหลออกมาพร้อมกันได้แน่นอน ทางแก้ไขก็คือควรจะปล่อยน้ำให้เป็นจังหวะ ให้มันไหลออกไปสู่ทะเลธรรมชาติตั้งแต่ต้นฤดู แล้วกลางฤดูก็ทำการป้องน้ำเอาไว้ในเขื่อนใหญ่ ปริมาณฝนที่ตกในกลางฤดูที่มันเพิ่มเติม ที่มันทำให้น้ำท่วมเก็บเอาไว้บ้างแล้วก็ไม่ปล่อยน้ำ น้ำก็ไม่ท่วมปลายฤดูนี่ก็เหมือนกัน แต่นี่ปลายฤดู ขนาดน้ำท่วมหลักๆ ก็ยังปล่อยมาวันละ 200-300 ล้านลูกบาศก์เมตร แบบนี้อยู่กันไม่ได้”
ดร.สมิ ทธบอกว่า เคยแนะนำเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่แรกๆ แต่ไม่มีใครเชื่อ ซึ่งหากเชื่อประเทศไทยก็ไม่เสียหายขนาดนี้ ซึ่งตนไม่ได้อวดอ้างก็ไม่ได้ว่ารู้คนเดียว แต่ได้ศึกษาค้นคว้ามามีประสบการณ์มา ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำต่างคิดต่างปล่อย แล้วก็ปล่อยน้ำจำนวนมหาศาลก็ไม่บอกกันด้วยว่าทำไมต้องปล่อยออมาจากทั้ง 3 เขื่อนใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วยังมีเชื่อนเล็กๆแถวนครราชสีมา ผมบอกว่าก็ควรจะปิดเขื่อนได้แล้ว น้ำท่วมภาคกลางแทบแย่แล้ว อยุธยา นครสวรรรค์ก็ควรจะปิดน้ำแล้ว เขื่อนไม่มีพังหรอก มันมีทางออกโดยอัตโนมัติเวลาน้ำขึ้นไปเต็มๆ มันก็ค่อยไหลออกมา แต่นี่ปล่อยลงมาเกินน้ำที่จะไหลออกมาตามธรรมชาติมันก็ท่วม”
ดร.สมิทธ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่เขาไม่สามารถนำ “ดรีมทีม” จัดการน้ำ เข้าไปช่วยวางแผนป้องกันน้ำท่วมได้ ก็เนื่องจากติดที่รัฐบาลไม่ชอบคนที่มาติความคิดของตัวเอง
“ตอนแรกเขา ก็ชวนเหมือนกัน แต่เนื่องจากผมไปติเขากรณีใช้เรือไล่น้ำ ก็เพราะไม่อยากให้เขาเอาพระราชดำริในหลวงมาใช้เรื่องการเมือง ที่พระองค์ทรงทำได้ผลก็เพราะว่าทำในคลองแคบๆ คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองไม่แคบแล้วมันก็ไม่ลึกทำแล้วน้ำมันจะไหลแรงไหลเร็ว แต่พอมาทำตรงแม่น้ำเจ้าพระยามันกว้าง แล้วทำไปมันก็ไปผิวน้ำข้างบนเท่านั้น น้ำข้างล่างลึกๆไป 2-3 เมตรมันไม่เคลื่อนตัว เพราะใบจักรมันก็ไปไม่ถึง เปลืองน้ำมัน เปลืองพลังงานเปล่า พอไปติเขาก็อย่าเอามาทำงาน เพราะติมาก ผมทำกับอาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด ก็ไม่โดนเชิญเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมประเทศในครั้งนี้”
ซึ่ง หากได้มีโอกาสเข้าไปทำงาน ดร.สมิทธเสนอวิธีแก้ไขน้ำล้อมกรุงเทพฯ ศูนย์กลางของประเทศไทยบ้าง นอกจากการนั่งตาปริบๆ คอยน้ำกระชับพื้นที่
“มี ทางเดียวต้องระบายน้ำออกสู่ปลายคลองปลายแม่น้ำบางประกงออกทางคลอง สำโรง คลองแสนแสบ คลองจระเข้ แล้วก็ออกไปทางคลองด่าน ที่นั่นมีระบบระบายน้ำด้วยการสูบที่มีประสิทธิภาพมาก อีกที่หนึ่งก็ระบายน้ำออกไปทางแม่น้ำท่าจีนแล้วก็ระดมเครื่องสูบน้ำไปติด ตั้งที่นั่น “เครื่องสูบน้ำเป็นระบบเดียวที่สามารถระบายน้ำได้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ใช้ใบจักรเรือ” ตั้งเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ที่ปลายคลองปลายแม่น้ำ มันจะระบายออกเลยแล้วก็สูบออกตลอด 24 ชั่วโมง 2-3 อาทิตย์ก็แห้งแล้ว แต่ผมย้ำว่าต้องลงทุนเอาเครื่องสูบน้ำทั้งหมดไปช่วยกัน กรมชลประทานก็มีจุดระบายน้ำอยู่แล้วที่ปากคลองบางปะกงประสิทธิภาพมาก มีทั้งหมดเครื่อง 16-17 เครื่อง ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง น้ำออกวันละหลายร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำแบบนี้ทุกคลองทุกแม่น้ำ 3- 4 อาทิตย์น่าจะแห้ง”
ดร.สมิทธ ย้ำว่า ทุกวันนี้แม้รัฐบาลไม่สนใจ แต่ทว่าตนเองกับอ.ปราโมทย์ไม่ได้อยู่นิ่ง ยังเจอกัน ทำงานกัน และมีการเตือนภัยไปยังประชาชนทุกวัน
“เราทำในฐานะมูลนิธิของเอกชน แต่จะให้ไปสอนรัฐบาลเขาก็น่าจะรับฟังเราบ้าง ซึ่งผมเสียดายความเสียหายเป็นแสนๆล้าน นี่ยังไม่รวมค่าที่ต้องซ่อมถนน มันเป็นเงินที่ไม่ควรเสีย แล้วใครจะรับผิดชอบแล้วความเสียหายทางเศรษฐกิจของพ่อค้าใครจะไปช่วย ผมได้รับสัมภาษณ์จากนสพ.นิวยอร์กไทมส์ กับเอพี เขาเป็นห่วงมากๆ แต่นี่ในศูนย์ป้องกันยังมีทะเลาะกันเลย บางคนก็บอกท่วม บางคนก็บอกไม่ท่วม คาดการณ์ผิดๆถูกๆจริงๆ ดังนั้นก็อยากจะให้รับฟังหน่วยงานที่เขาให้องค์ความรู้ได้ นี่ถ้าหยุดปล่อยน้ำตั้งแต่กลางฤดูฝน ฝนจะตกมาบ้างเขื่อนมันจะเต็มก็ให้มันไหลออกโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ปล่อยออกมาเยอะๆพร้อมๆกัน มันก็ท่วมกรุงเทพฯหมด”
ต่อจากนั้น ถ้าเขื่อนดินแตก 24 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ก็ต้องรับชะตากรรม ถ้าไม่แตกความเสียหายจะน้อยลง แต่ถ้าแตกน้ำจะกระจายไปทั่วกรุงเทพฯ
“สิ่ง หนึ่งที่ผมอยากพูดถึงก็คือคานกั้นน้ำที่ทำด้วยดิน ผมไม่เห็นด้วย เพราะดินแช่น้ำไปนานๆ มันก็เป็นเลน ความแข็งแรงไม่มี น้ำสูง 1 เมตรจะมีน้ำหนัก 1 ตัน สามารถจะดันเขื่อนดินไปอย่างสบายๆ กระสอบทรายมาวางก็ไม่มีประโยชน์ ยิ่งทำสูงยิ่งอันตราย ทำสูง 3 เมตร น้ำหนักของน้ำ 3 ตัน ฉะนั้นในเขื่อนที่ยิ่งทำยิ่งสูงนึกว่ายิ่งรอดไม่รอด ถ้าจะทำสูงอย่างนั้นสันเขื่อนก็ต้องกว้าง และต้องมีแก่นเขื่อนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กลึกลงไป ถึงทำได้ นี่ไม่มีอะไรเลย”
สุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำยังกล่าวด้วยน้ำเสียงเศร้าว่า น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ตนได้เห็นสภาพบ้านเมืองเสียหายเพราะ น้ำมากอย่างนี้
“ผมก็สงสัยว่าทำไมไม่มีใครศึกษาโครงสร้างผังเมือง ณ วันนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เหมือนก่อน การที่ปล่อยน้ำมาจากเขื่อนออกมาเยอะๆ น้ำมันต้องท่วมแน่นอน แล้วสิ่งที่สำคัญ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม สร้างสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งมันไปเป็นทางกั้นน้ำ ทำให้พอปล่อยทีเดียวมันก็ท่วม แม้ไม่มีฝนมันก็ท่วม ดังนั้นหลังจากนี้ต้องมีการศึกษาผังเมือง เอาข้อมูลต่างๆ มาใช้ร่วมกัน หน่วยงานที่ควบคุมน้ำของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลที่แล้วมีอยู่ 20 กว่าหน่วยงาน ต่างคนก็ต่างมีอธิบดีของตัวเอง มีรองอธิบดี มีนักวิชาการของตัวเอง ก็ใช้ข้อมูลของตัวเองเป็นหลัก ไม่มีการเอาข้อมูลมารวมกันแล้วเอามาวินิจฉัย ผมพูดได้เต็มปากว่าหลายเดือนที่ผ่านมามันไม่มีเอกภาพ แล้วที่สำคัญเขาไม่เห็นคุณค่าประสบการณ์ของทั้งผมและอาจารย์ปราโมทย์ ถ้ารัฐบาลรู้จักใช้คนที่มีความรู้จริงๆ จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้
เปิดใจ ปราโมทย์ ไม้กลัด"เชื่อ ว่าการที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้ หลังน้ำลดรัฐบาลควรจะต้องมีการหามาตรการแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่างเป็นรูปธรรมเสียที ไม่ควรปล่อยเอาไว้อีก เพราะในอนาคตหากไม่คิดแก้ไข ปัญหาก็จะกลับมาอีก อาจอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้า แต่งบประมาณมากแค่ไหนก็จะช่วยอะไรไม่ได้ หากไม่เข้าใจธรรมชาติการไหลของน้ำก็คงไม่เป็นผล ยิ่งหากพยายามสร้างอะไรขวางทางน้ำก็จะยิ่งแย่ ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่ฝืนและต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และต้องฉลาดในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งตนมีแผนงานอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะฟังหรือไม่" นายปราโมทย์ ไม้กลัด ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์Twitter : raydo_thairath .รัฐบาล ฟังเราบ้าง...' เสียงสุดท้ายก่อน 'สึนามิน้ำจืด' กลืนกรุงเทพ!!ถัดจากคลื่นน้ำ “สึนามิใหญ่” ที่คร่าชีวิตพี่น้องภาคใต้ไปมากมายเมื่อหลายปีก่อน !! ก็มีครั้งนี้แหละที่ “น้ำ” สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนไทยทั้งประเทศ!!! โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ!!!
ในวันที่ประเทศไทยโดนมวลน้ำสามัคคีกันกระชับพื้นที่ศูนย์ กลางประเทศ ที่ไร้ซึ่งความสามัคคีแห่งนี้ ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำนอกจากถามวิธีแก้ไขที่จะไม่ทำให้กรุงเทพฯ ปราการด่านสุดท้าย ศูนย์กลางเศรษฐกิจประเทศไทยหยุดยั้งไม่ทำให้มันจมน้ำตายแล้ว
คำถามที่น่าใคร่ครวญ ก็คือพวกเราเดินทางมาถึงวิกฤติน้ำกลืนประเทศตรงนี้ได้อย่างไร...?
“ผม อดีตอธิบดีกรมอุตุฯ กับ อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เจอกันทำงานด้วยกัน หลายอย่างที่เราแนะนำไปเขาก็ไม่เชื่อ ตอนนี้กำลังจะสาย ดังนั้นรัฐบาลต้องฟังเราบ้าง…!” ดร.สมิทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงผิดหวัง และย้ำคำถามว่าเราเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
“ข้อ ผิดพลาดทั้งหมดมันเริ่มเพราะมันเกี่ยวกับการบริหารน้ำ ซึ่งไม่ใช่กรมชลฯกรมเดียว ทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบทั้งหมด ผิดตรงที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ประมาณปริมาณน้ำฝนที่จะตก ในฤดูฝนนี้ มันจะมีพายุเข้ากี่ลูกแล้วปริมาณน้ำที่จะตกในต้นฤดูมีเท่าไหร่ กลางฤดู ปลายฤดูเท่าไหร่ แล้วการที่จะเก็บน้ำไว้ในเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดูควรจะเก็บน้ำเอาไว้กี่ เปอร์เซ็นต์ของความจุของเขื่อน ไม่ใช่เก็บทีเดียวเต็มเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดู เพราะหากกลางฤดูฝนตกมากกลางฤดูน้ำก็จะล้นเขื่อน พอล้นก็จำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำ ที่สำคัญไม่ควรจะปล่อยออกมาพร้อมๆกันหลายเขื่อน เพราะปริมาณที่ปล่อยออกมาพร้อมกัน พื้นที่ประเทศไทยไม่สามารถรับปริมาณน้ำที่ไหลออกมาพร้อมกันได้แน่นอน ทางแก้ไขก็คือควรจะปล่อยน้ำให้เป็นจังหวะ ให้มันไหลออกไปสู่ทะเลธรรมชาติตั้งแต่ต้นฤดู แล้วกลางฤดูก็ทำการป้องน้ำเอาไว้ในเขื่อนใหญ่ ปริมาณฝนที่ตกในกลางฤดูที่มันเพิ่มเติม ที่มันทำให้น้ำท่วมเก็บเอาไว้บ้างแล้วก็ไม่ปล่อยน้ำ น้ำก็ไม่ท่วมปลายฤดูนี่ก็เหมือนกัน แต่นี่ปลายฤดู ขนาดน้ำท่วมหลักๆ ก็ยังปล่อยมาวันละ 200-300 ล้านลูกบาศก์เมตร แบบนี้อยู่กันไม่ได้”
ดร.สมิ ทธบอกว่า เคยแนะนำเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่แรกๆ แต่ไม่มีใครเชื่อ ซึ่งหากเชื่อประเทศไทยก็ไม่เสียหายขนาดนี้ ซึ่งตนไม่ได้อวดอ้างก็ไม่ได้ว่ารู้คนเดียว แต่ได้ศึกษาค้นคว้ามามีประสบการณ์มา ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำต่างคิดต่างปล่อย แล้วก็ปล่อยน้ำจำนวนมหาศาลก็ไม่บอกกันด้วยว่าทำไมต้องปล่อยออมาจากทั้ง 3 เขื่อนใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วยังมีเชื่อนเล็กๆแถวนครราชสีมา ผมบอกว่าก็ควรจะปิดเขื่อนได้แล้ว น้ำท่วมภาคกลางแทบแย่แล้ว อยุธยา นครสวรรรค์ก็ควรจะปิดน้ำแล้ว เขื่อนไม่มีพังหรอก มันมีทางออกโดยอัตโนมัติเวลาน้ำขึ้นไปเต็มๆ มันก็ค่อยไหลออกมา แต่นี่ปล่อยลงมาเกินน้ำที่จะไหลออกมาตามธรรมชาติมันก็ท่วม”
ดร.สมิทธ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่เขาไม่สามารถนำ “ดรีมทีม” จัดการน้ำ เข้าไปช่วยวางแผนป้องกันน้ำท่วมได้ ก็เนื่องจากติดที่รัฐบาลไม่ชอบคนที่มาติความคิดของตัวเอง
“ตอนแรกเขา ก็ชวนเหมือนกัน แต่เนื่องจากผมไปติเขากรณีใช้เรือไล่น้ำ ก็เพราะไม่อยากให้เขาเอาพระราชดำริในหลวงมาใช้เรื่องการเมือง ที่พระองค์ทรงทำได้ผลก็เพราะว่าทำในคลองแคบๆ คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองไม่แคบแล้วมันก็ไม่ลึกทำแล้วน้ำมันจะไหลแรงไหลเร็ว แต่พอมาทำตรงแม่น้ำเจ้าพระยามันกว้าง แล้วทำไปมันก็ไปผิวน้ำข้างบนเท่านั้น น้ำข้างล่างลึกๆไป 2-3 เมตรมันไม่เคลื่อนตัว เพราะใบจักรมันก็ไปไม่ถึง เปลืองน้ำมัน เปลืองพลังงานเปล่า พอไปติเขาก็อย่าเอามาทำงาน เพราะติมาก ผมทำกับอาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด ก็ไม่โดนเชิญเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมประเทศในครั้งนี้”
ซึ่ง หากได้มีโอกาสเข้าไปทำงาน ดร.สมิทธเสนอวิธีแก้ไขน้ำล้อมกรุงเทพฯ ศูนย์กลางของประเทศไทยบ้าง นอกจากการนั่งตาปริบๆ คอยน้ำกระชับพื้นที่
“มี ทางเดียวต้องระบายน้ำออกสู่ปลายคลองปลายแม่น้ำบางประกงออกทางคลอง สำโรง คลองแสนแสบ คลองจระเข้ แล้วก็ออกไปทางคลองด่าน ที่นั่นมีระบบระบายน้ำด้วยการสูบที่มีประสิทธิภาพมาก อีกที่หนึ่งก็ระบายน้ำออกไปทางแม่น้ำท่าจีนแล้วก็ระดมเครื่องสูบน้ำไปติด ตั้งที่นั่น “เครื่องสูบน้ำเป็นระบบเดียวที่สามารถระบายน้ำได้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ใช้ใบจักรเรือ” ตั้งเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ที่ปลายคลองปลายแม่น้ำ มันจะระบายออกเลยแล้วก็สูบออกตลอด 24 ชั่วโมง 2-3 อาทิตย์ก็แห้งแล้ว แต่ผมย้ำว่าต้องลงทุนเอาเครื่องสูบน้ำทั้งหมดไปช่วยกัน กรมชลประทานก็มีจุดระบายน้ำอยู่แล้วที่ปากคลองบางปะกงประสิทธิภาพมาก มีทั้งหมดเครื่อง 16-17 เครื่อง ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง น้ำออกวันละหลายร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำแบบนี้ทุกคลองทุกแม่น้ำ 3- 4 อาทิตย์น่าจะแห้ง”
ดร.สมิทธ ย้ำว่า ทุกวันนี้แม้รัฐบาลไม่สนใจ แต่ทว่าตนเองกับอ.ปราโมทย์ไม่ได้อยู่นิ่ง ยังเจอกัน ทำงานกัน และมีการเตือนภัยไปยังประชาชนทุกวัน
“เราทำในฐานะมูลนิธิของเอกชน แต่จะให้ไปสอนรัฐบาลเขาก็น่าจะรับฟังเราบ้าง ซึ่งผมเสียดายความเสียหายเป็นแสนๆล้าน นี่ยังไม่รวมค่าที่ต้องซ่อมถนน มันเป็นเงินที่ไม่ควรเสีย แล้วใครจะรับผิดชอบแล้วความเสียหายทางเศรษฐกิจของพ่อค้าใครจะไปช่วย ผมได้รับสัมภาษณ์จากนสพ.นิวยอร์กไทมส์ กับเอพี เขาเป็นห่วงมากๆ แต่นี่ในศูนย์ป้องกันยังมีทะเลาะกันเลย บางคนก็บอกท่วม บางคนก็บอกไม่ท่วม คาดการณ์ผิดๆถูกๆจริงๆ ดังนั้นก็อยากจะให้รับฟังหน่วยงานที่เขาให้องค์ความรู้ได้ นี่ถ้าหยุดปล่อยน้ำตั้งแต่กลางฤดูฝน ฝนจะตกมาบ้างเขื่อนมันจะเต็มก็ให้มันไหลออกโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ปล่อยออกมาเยอะๆพร้อมๆกัน มันก็ท่วมกรุงเทพฯหมด”
ต่อจากนั้น ถ้าเขื่อนดินแตก 24 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ก็ต้องรับชะตากรรม ถ้าไม่แตกความเสียหายจะน้อยลง แต่ถ้าแตกน้ำจะกระจายไปทั่วกรุงเทพฯ
“สิ่ง หนึ่งที่ผมอยากพูดถึงก็คือคานกั้นน้ำที่ทำด้วยดิน ผมไม่เห็นด้วย เพราะดินแช่น้ำไปนานๆ มันก็เป็นเลน ความแข็งแรงไม่มี น้ำสูง 1 เมตรจะมีน้ำหนัก 1 ตัน สามารถจะดันเขื่อนดินไปอย่างสบายๆ กระสอบทรายมาวางก็ไม่มีประโยชน์ ยิ่งทำสูงยิ่งอันตราย ทำสูง 3 เมตร น้ำหนักของน้ำ 3 ตัน ฉะนั้นในเขื่อนที่ยิ่งทำยิ่งสูงนึกว่ายิ่งรอดไม่รอด ถ้าจะทำสูงอย่างนั้นสันเขื่อนก็ต้องกว้าง และต้องมีแก่นเขื่อนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กลึกลงไป ถึงทำได้ นี่ไม่มีอะไรเลย”
สุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำยังกล่าวด้วยน้ำเสียงเศร้าว่า น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ตนได้เห็นสภาพบ้านเมืองเสียหายเพราะ น้ำมากอย่างนี้
“ผมก็สงสัยว่าทำไมไม่มีใครศึกษาโครงสร้างผังเมือง ณ วันนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เหมือนก่อน การที่ปล่อยน้ำมาจากเขื่อนออกมาเยอะๆ น้ำมันต้องท่วมแน่นอน แล้วสิ่งที่สำคัญ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม สร้างสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งมันไปเป็นทางกั้นน้ำ ทำให้พอปล่อยทีเดียวมันก็ท่วม แม้ไม่มีฝนมันก็ท่วม ดังนั้นหลังจากนี้ต้องมีการศึกษาผังเมือง เอาข้อมูลต่างๆ มาใช้ร่วมกัน หน่วยงานที่ควบคุมน้ำของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลที่แล้วมีอยู่ 20 กว่าหน่วยงาน ต่างคนก็ต่างมีอธิบดีของตัวเอง มีรองอธิบดี มีนักวิชาการของตัวเอง ก็ใช้ข้อมูลของตัวเองเป็นหลัก ไม่มีการเอาข้อมูลมารวมกันแล้วเอามาวินิจฉัย ผมพูดได้เต็มปากว่าหลายเดือนที่ผ่านมามันไม่มีเอกภาพ แล้วที่สำคัญเขาไม่เห็นคุณค่าประสบการณ์ของทั้งผมและอาจารย์ปราโมทย์ ถ้ารัฐบาลรู้จักใช้คนที่มีความรู้จริงๆ จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้
เปิดใจ ปราโมทย์ ไม้กลัด"เชื่อ ว่าการที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้ หลังน้ำลดรัฐบาลควรจะต้องมีการหามาตรการแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่างเป็นรูปธรรมเสียที ไม่ควรปล่อยเอาไว้อีก เพราะในอนาคตหากไม่คิดแก้ไข ปัญหาก็จะกลับมาอีก อาจอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้า แต่งบประมาณมากแค่ไหนก็จะช่วยอะไรไม่ได้ หากไม่เข้าใจธรรมชาติการไหลของน้ำก็คงไม่เป็นผล ยิ่งหากพยายามสร้างอะไรขวางทางน้ำก็จะยิ่งแย่ ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่ฝืนและต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และต้องฉลาดในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งตนมีแผนงานอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะฟังหรือไม่" นายปราโมทย์ ไม้กลัด ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์Twitter : raydo_thairath
.
.
.
Life Insurance Knowledge:Life Insurance , private, death, employee pensions and annuities,life insurance, educational, life insurance companies

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น