Search for content in this blog.

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พูดคำหยาบ นินทา เพ้อเจ้อ ผิดศีล 5 หรือไม่

อกุศลกรรมบถ 10

อกุศลกรรมบถ แปลตามตัวได้ว่าทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล คือ
การกระทำอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง แยกได้เป็น 3 หมวด

คือ

กายกรรม 3 ได้แก่

1.ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
2.อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
3.กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดทางกาม)
ทั้ง 3 ข้อนี้ ดูรายละเอียดปลีกย่อยได้ที่หมวดศีล เรื่องรายละเอียดของศีล
5 (1) ถึง (3) ตามลำดับ

วจีกรรม 4 ได้แก่

1.มุสาวาท (การพูดปด พูดเท็จ โกหก หลอกลวง)
2.ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด คือพูดยุยงให้เขาแตกแยกกัน)
3.ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
4.สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
ทั้ง 4 ข้อนี้ ดูรายละเอียดปลีกย่อยได้ที่หมวดศีล เรื่องรายละเอียดของศีล 5 (4)

มโนกรรม 3 ได้แก่

1.อภิชฌา (ละโมบ เพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน
อย่างไม่ถูกทำนองคลองธรรม เป็นโลภะ (ความโลภ) ขั้นรุนแรง)
2.พยาบาท (คิดร้าย ปองร้าย มุ่งร้ายต่อผู้อื่น
มีความปรารถนาที่จะทำลายประโยชน์ และความสุขของผู้อื่นให้เสียหายไป
เป็นโทสะ (ความโกรธ) ขั้นรุนแรง)
3.มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี
มารดาบิดาไม่มีบุญคุณ ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องบาป
บุญ คุณ โทษ ฯลฯ เป็นโมหะ (ความหลง - ไม่รู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง)
ขั้นรุนแรง)
ทั้ง 3 ข้อนี้ เป็นกรรมที่เกิดขึ้นในใจ คือในทางความคิด
ถ้าเมื่อใดมีกำลังที่มากพอ หรือมีโอกาสที่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้เกิดการกระ

ทำทางกาย หรือทางวาจาออกมา ซึ่งการกระทำเหล่านั้นก็อาจจะเข้าข่ายกายกรรม
3 ที่เป็นทุจริต หรือ วจีกรรม 4 ที่เป็นทุจริต ข้อใด
ข้อหนึ่ง หรือหลายข้อก็ได้




การผิดศีลข้อที่ 4 มุสาวาท (การพูดปด พูดเท็จ โกหก หลอกลวง)

การกระทำที่ถือว่าผิดศีลข้อนี้อย่างสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้

1.เรื่องราวนั้นไม่เป็นความจริ
2.มีจิตคิดจะมุสา คือมีเจตนาที่จะโกหก หลอกลวง
3.พยายามด้วยกาย หรือด้วยวาจา หรือวิธีการใดๆ
เพื่อจะให้ผู้อื่นเชื่อตามเรื่องราวนั้น คือดำเนินการโกหก หลอกลวงนั่นเอง
4.ผู้อื่นเชื่อตามเรื่องราวนั้
ข้อแตกต่างระหว่างมุสาวาท ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

มุสาวาท คือการพูด หรือการกระทำใดๆ
โดยมีเจตนาให้ผู้อื่นเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
โดยหวังจะให้เขาได้รับความเดือดร้อน

เสียหาย หรือเสียประโยชน์อันพึงมีพึงได้ จากความเชื่อนั้น

ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ
ในสิ่งที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม โดยมีเจตนาจะยุยงให้เขา

แตกแยกกัน ไม่สามัคคีกัน

ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ ในสิ่งที่เป็นความจริง
หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม ด้วยคำที่สุภาพ หรือไม่

สุภาพก็ตาม โดยมีเจตนาจะให้เขาเจ็บใจ ไม่สบายใจ หรือร้อนใจ
(ไม่ได้มีเจตนาให้เขาเชื่อตามนั้นเป็นหลักใหญ่) เช่น การด่าว่าเขา

เป็นสัตว์บางชนิด เป็นต้น โดยรู้อยู่แล้วว่าเขาจะไม่เชื่อ
แต่จะต้องเจ็บใจ หรือการพูดถึงปมด้อยของเขาที่เป็นจริง การประชดประชัน

ด้วยคำที่สุภาพ ฯลฯ

สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ
ในสิ่งที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม โดยเจตนาเพียงเพื่อ

ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ไร้สาระ ไม่มีใครได้ประโยชน์จากการพูด หรือการกระทำนั้น

สรุป
สำหรับมุสาวาทนั้น เป็นทั้งการผิดศีล 5 และเป็นอกุศลกรรม คือเป็นวจีทุจริต ในอกุศลกรรมบถ 10


ส่วนปิสุณวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ นั้นไม่ถือเป็นการผิดศีล 5 แต่เป็นอกุศลกรรม คือเป็นวจีทุจริต ในอกุศลกรรมบถ 10

บอกแล้วว่าถือศีล 5 นั้นง่ายมาก ใช่มั๊ยล่ะ แต่การถือหรือละอกุศลกรรมบท
10 นั้นยากกว่าเยอะ
ดังนั้น ศิล 5 เป็นจุดเริ่มต้นง่ายๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ยึดถือกัน
เป็นมนุษย์สมบัติที่แท้จริง
แล้วจะพบว่า นี่แหละคือฐาน ของ สมาธิ และปัญญาในที่สุด
ใครไม่เชื่อลองทำดู จะเกิดมหากุศลอันยิ่งใหญ่
แล้วจะเจอสิ่งที่เหลือเชื่อที่ดีๆเข้ามาในชีวิตอย่างน่าแปลกใจ
โดยไม่ได้คาดหวัง

การถือศิล เป็นแค่การละสิ่งไม่ดี 5 อย่างเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าคนคนนั้น
จะไม่มี โลภ โกรธ หลง แต่อย่างน้อย ความเดือดร้อนในชีวิตก็ลดลงเยอะมากมาย
และเป็นจุดเริ่มต้น ของคำว่า เป็นมนุษย์
ที่มีปัญญาเหนือกว่าสัตย์แค่นั่นเอง
Life Insurance Knowledge:Life Insurance , private, death, employee pensions and annuities,life insurance, educational, life insurance companies

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น